วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ไตวาย ไม่ตายไว

ไต (รวมทั้งต่อมหมวกไตด้วย) มีบทบาทสำคัญยิ่งในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาสมอง การสร้างกระดูก การสร้างเม็ดเลือด สมรรถภาพทางเพศ การสืบพันธ์และความชรา ทั้งยังมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับระบบประสาทและระบบคุ้มกันด้วย


ปกติไตจะเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นความเสื่อมของร่างกายจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ส่วนจะเสื่อมเร็วช้า หรือมากน้อยจะไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปจจัยหลายอย่าง

โรคไตมีมากมายหลายชนิด บางชนิดไม่มีอาการบางชนิดอาการมาก บางชนิดปฏิบัติตนให้ถูกต้องก็หายได้โดยไม่ต้องใช้ยา บางชนิดต้องกินยาตลอดชีวิต


โรคไตวายคือภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ ไม่สามารถขับน้ำและของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเลือดเป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ซึม คลื่นไส้ และเสียชีวิตในที่สุด


โรคไตวายมี 2 แบบ แบบเฉียบพลัน ซึ่งไตวายชั่วคราวสามารถฟื้นกลับมาทำหน้าที่ได้อีก หายเป็นปกติได้ และแบบเรื้อรัง ซึ่งการทำงานของไตเสียอย่างถาวรไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีกแล้วเมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้วผู้ป่วยควรจำกัดอาหารบางอย่าง เช่น อาหารเค็ม อาหารที่มีโปรตีนสูง ถ้าความดันโลหิตสูงต้องคุมให้ดี ยาจะช่วยลดอาการได้บ้าง แต่ไม่มียาอะไรที่จะขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายได้ นอกจากวิธีการล้างไต


การล้างไตปัจจุบันมี 2 วิธี


1.วิธีการล้างไตทางหน้าทอง วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำนาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4-5 ครั้ง ทุกวัน วิธีนี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียที่อาจเกิดจากการติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อทำไปนานๆ และมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางน้ำยามากในแต่ละวัน


2.การฟอกเลือด เป็นการดูดเลือดจากผู้ป่วยไปล้างเอาน้ำและของเสียออกโดยใช้ไตเทียม (เครื่องฟอกเลือด) เลือดที่ล้างแล้วจะไหลกลับเข้ามาในตัวผู้ป่วยวิธีนี้ใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้ได้ผลดีควรฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง


ความรู้เกี่ยวกับการดุแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังและได้รับการผ่าตัด ดังนี้


1.คำแนะนำและการดูแลตนเองสำหรับผุ้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ใส่หลอดสวนชนิดชั่วคราวเพื่อใช้สำหรับฟอกเลือด

  • การใส่หลอดชนิดชั่วคราวสามารถใช้ฟอกเลือดได้ทันทีแต่ไม่ควรให้ยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวเมื่อฟอกเลือดครั้งแรก

  • ระวังอย่าให้แผลหรือหลอดเลือดถูกน้ำ แต่ถ้าถุกน้ำควรไปโรงพยาบาล เพื่อเปลี่ยนผ้าทำแผลใหม่

  • ทุกๆ ครั้งที่ใช้หลอดสวนฟอกเลือดจะต้องเปิดทำแผลใหม่ทุกครั้ง และต้องตรวจสอบบริเวรที่เป็นทางออกของหลอดสวนด้วยทุกครั้ง

  • ในกรณีมราใส่หลอดสวนที่ขาหนีบไม่ควรงอพับข้อสะโพกและไม่ควรให้อับชื้นจะทำให้ติดเชื้อง่าย

  • มาตามแพทย์นัดโดยเคร่งครัด


2.การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำเพื่อใใช้สำหรับฟอกเลือด

  • หลังผ่าตัดใหม่ๆ ในสัปดาหืแรกไม่ควรขยับแขนหรือหัวไหล่ด้านนั้นมากเกินไป ควรให้แนบอยู่ข้างลำตัวไม่ควรกางแขนหรือหมุนแขนไปมา

  • หลังผ่าตัดเสร็จใหม่ๆ ไม่ควรใช้มือข้างนั้นยันพื้นเตียงเพื่อลุกขึ้นนั่งหรือเวลาย้ายเตียงจากเตียงผ่าตัดไปยังเปลเข็นผู้ป่วย

  • การใส่หลอดสวนชนิดถาวรควรใช้ฟอกเลือดหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็สามารถใช้ฟอกเลือดได้เลย แต่ไม่ควรให้ยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวขณะฟอก

  • ระวังอย่าให้แผลหรือหลอดสวนถูกน้ำ แต่ถ้าถูกน้ำควรไปโรงพยาบาลเพ่อเปลี่ยนผ้าพันแผลใหม่

  • ทุกๆ ครั้งที่ใช้หลอดสวนฟอกเลือดจะต้องเปิดทำแผลใหม่ทุกครั้ง และต้องตรวจสอบบริเวณที่เป็นทางออกของหลอดสวนด้วยทุกครั้ง

  • ในกรณีที่ใส่หลอดสวนที่ขาหนีบไม่ควรงอพับข้อสะโพกและไม่ควรให้อับชื้นจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

  • มาตามแพทย์นัดโดยเคร่งครัด

จะเห็นว่าการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรองรับการฟอกเลือดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพียงทำตามคำแนะนำของแพทยือย่างเคร่งครัดเท่านั้น




1 ความคิดเห็น:

  1. อีก 1 ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคไตวาย เชิญอ่านได้ที่นี่ค่ะ http://www.kuntanooherbs.com/

    ตอบลบ